วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

แม่ไม้มวยไทย


ศิลปะแม่ไม้มวยไทย 
          ศิลปะแม่ไม้มวยไทย หมายถึงท่าของการผสมผสาน การใช้ หมัด เท้า เข่า ศอก เพื่อการรุก หรือรับ ในการต่อสู้ด้วย มวยไทย การจะใช้ศิลปะไม้มวยไทย ได้อย่าง ชำนาญ จะต้อง ผ่านการฝึก เบื้องต้น ในการใช้หมัด เท้า เข่าศอกแต่ละอย่าง ให้คล่องแคล่ว ก่อนจากนั้น จึงจะหัด ใช้ผสมผสาน กันไปทั้งหมัด เท้า เข่า ศอกและศิลปะ การหลบหลีก ซึ่งขึ้นอยู่ กับครู มวยไทย ที่จะคิดดัดแปลง พลิกแพลง เพื่อนำไปใช้ได้ผล แล้วตั้งชื่อ ท่ามวย นั้นๆ ตามลักษณะท่าทางให้จดจำได้ง่าย เมื่อมีท่ามวยมากขึ้น จึงจัดแบ่ง เป็นหมวดหมู่ หรือตั้งชื่อให้เรียกขาน คล้องจองกัน เพื่อลูกศิษย์ จะได้ท่องจำ และไม่ลืมง่าย ในอดีตมวยไทยไม่ได้ ใส่นวม จะชกกัน แต่ชกด้วยมือเปล่า หรือใช้ผ้าดิบ พันมือ จึงสามารถใช้มือ จับคู่ต่อสู้ เพื่อทุ่ม หัก หรือบิดได้ นักมวยจึงใช้ชั้นเชิง ในการต่อสู้ มวยไทย มากกว่าการใช้พละกำลัง จึงเกิด ท่า มวยมากมาย ต่อมามีการกำหนด ให้นักมวยไทย ใส่นวมในขณะขึ้นชก แข่งขัน เช่นเดียว กับมวยสากล และ มีการออกกฎกติกาต่าง ๆ เพื่อเป็น การป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น แก่ นัก มวยไทย และง่ายต่อการตัดสิน ท่ามวยไทย ที่มีมาแต่อดีต "บางท่าจึงไม่สามารถ นำมาใช้ ในการแข่งขันได้ ถือว่าผิดกติกา" และบางท่านัก มวยไทย ก็ไม่ สามารถ ใช้ได้ถนัด เนื่องจาก มีเครื่อง ป้องกัน ร่างกายมาก ท่ามวย บางท่า จึงถูกลืมเลือนไปในที่สุด
มีทั้งหมด 15 ท่า


1.สลับฟันปลา
รับวงนอก

แม่ไม้นี้เป็นไม้หลักหรือไม้ครูเบื้องต้น ใช้รับและหลบหมัด ตรงของคู่ต่อสู้ที่ ชกนำ โดยหลบออกวงนอก นอกลำแขนของ คู่ต่อสู้ทำให้หมัดเลยหน้าไป 
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรง ที่หมายใบหน้าของฝ่ายรับ พร้อมกับก้าวเท้า ซ้ายสืบไปข้างหน้า 
ฝ่ายรับ ก้าวเท้าขวาหลบไป ทางกึ่งขวา 1 ก้าว พร้อมทั้งโน้มตัวเอนไป ทางขวาประมาณ 6 องศา น้ำหนักตัวอยู่ บนเท้าขวา ขาขวางอเล็กน้อยศีรษะและตัว หลบออกวงนอกของหมัดฝ่ายรุก ใช้มือขวา จับคว่ำมือที่แขนท่อนบนของฝ่ายรุก มือซ้าย จับกำหงายที่ข้อมือของฝ่ายรุก (ท่าคล้ายจับ หักแขน)

2.ปักษาแหวกรังรับวงใน
แม่ไม้นี้เป็นไม้ครูของการเข้าสู่ วงในเพื่อใช้ลูกไม้ อื่นต่อไป 
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรงที่ หน้าฝ่ายรับ พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า 
ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าสืบไป ข้างหน้าเฉียงไปทางกึ่งซ้ายเลกน้อยภายใน แขนซ้าย ของฝ่ายรุก ตัวเอนประมาณ 60 องศา น้ำหนัก ตัวอยู่บนเท้าซ้ายพร้อมกับ งอแขนทั้ง ขึ้นปะทะแขนท่อนบนและ ท่อนล่างของฝ่ายรุกไว้โดยเร็ว หมัดของ ฝ่ายรับทั้งคู่ชิดกัน(คล้ายท่าพนมมือ) ศอก กางประมาณ คืบ ศีรษะและใบหน้ากำบังอยู่ระหว่างแขนทั้งสอง ตาคอยชำเลืองดูหมัด ขวาของฝ่ายรุก

3.ชวาซัดหอก
ศอกวงนอก
 
แม่ไม้นี้ใช้เป็นหลัก สำหรับ หลบหมัดตรงออกทางวงนอก แล้วโต้ตอบ ด้วยศอก 
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรง บริเวณใบหน้าของฝ่ายรับ พร้อมกับก้าวเท้า ซ้าย สืบไปข้างหน้า 
ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าเอนตัวไป ทางกึ่งขา ตัวเอน ประมาณ 3 องศา น้ำหนัก ตัวอยู่บนเท้าขวา พร้อมงอแขน ซ้ายใช้ศอก กระแทกชายโครงใต้แขนของฝ่ายรุก


4.อิเหนาแทงกริช
ศอกวงใน

แม่ไม้นี้เป็นหลักในการรับหมัด และใช้ศอกเข้าคลุกวงใน 
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรงบริเวณหน้า ฝ่ายรับ พร้อมกับสืบเท้าไปข้างหน้า 
ฝ่ายรับ รีบก้าว เท้าซ้ายไปข้างหน้าตัวเอียงไปทางซ้ายเล็กน้อย ตัวเอน ประมาณ 60องศา น้ำหนัก ตัวอยู่บนเท้าซ้าย งอศอกขวาขนานกับพื้น ตีระดับชายโครงฝ่ายรุก


5.ยอเขาพระสุเมรุ
ชกคางหมัดต่ำก้มตัว 45 องศา

แม่ไม้นี้ ใช้รับหมัดตรงในลักษณะก้มตัว เขาวงในให้หมัด ผ่านศรีษะไปแล้วชกเสยคาง 
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดชายตรง ที่หมายใบหน้าฝ่ายรับ พร้อมก้าวเท้าซ้ายไป ข้างหน้า 
ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าขวาพร้อมกับย่อตัวต่ำ เข้าหาฝ่ายรุก งอเข่าขวาขาซ้าย ตึงย่อตัวต่ำเอน ไปข้างหน้าประมาณ 45 องศา น้ำหนักตัวอยู่บนเท้าขวาแล้วให้ยืด เท้าขวายกตัวขึ้นพร้อมกับพุ่งชกหมัดขวา เสยใต้คางของฝ่ายรุก หน้าเงยดูคางของ ฝ่ายรุก แขนซ้ายกำบังอยู่ตรงหน้าเสมอคาง


6.ตาเถรค้ำฝัก
ชกคางหมัดสูงก้มตัว 60 องศา

แม่ไม้นี้เป็นหลักเบื้อง ด้านใน การป้องกันหมัด โดยใช้แขนปัด หมัดที่ชกมาขึ้นข้างบน 
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรง ที่บริเวณใบหน้าฝ่ายรับ พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปขางหน้า 
ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าซ้ายสืบไป ข้างหน้าทางกึงขวาเขาวงในของฝ่ายรุก แล้วใช้แขนขวาง ป้องกันหมัด ซ้ายที่ชกมาปัดขึ้นให้ พันตัว งอเข่าซ้ายเล็กน้อย ใช้หมัด ซ้ายชกใต้คางของฝ่ายรุก


7.มอญยันหลัก
รับหมัดด้วยถีบ

แม่ไม้นี้เป็นหลักสำคัญในการรับหมัด ด้วยการใช้เท้า ถีบยอดอก หรือท้อง 
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรงพร้อมกับก้าวเท้าซ้าย ไปข้างหน้า 
ฝ่ายรับ โยกตัวเอนไปทางขวาเอนตัวหนีฝ่ายรุก ประมาณ 45 องศา ยืนบนเท้าขวาแขนทั้งสอง ยกงอป้องตรงหน้าพร้อมกับยกเท้าซ้ายถีบที่ ยอดอกหรือท้องของฝ่ายรุกให้กระเด็น ห่างออกไป


8. ปักลูกทอย
รับเตะด้วยศอก

แม่ไม้นี้ใช้เป็นหลักในการรับการเตะกราด โดยใช้ศอกกระแทกที่หน้าแข้ง 
ฝ่ายรุก ยืนตรงหน้าพอได้ระยะเตะ ยกเท้าขวา เตะกราดไปยังบริเวณชายโครงของฝ่ายรับ จากขวาไปทางซ้าย โน้มตัวเล็กน้อย งอแขน ทั้งสองป้องกันหน้า 
ฝ่ายรับ รีบยกตัวไปทางซ้ายพร้อมกับก้าวเท้าซ้าย ฉากไปข้างหลังใช้แขนขวางอศอกขึ้น รับเท้าของฝ่ายรุกที่เตะมา แขนซ้ายงอป้องกัน อยู่ตรงหน้าสูงกว่าแขนขวาเพื่อป้องกัน พลาดถูกหน้า


9.จระเข้ฟาดหาง
รับหมัดเตะ

แม่ไม้นี้ใช้ส้นเท้าฟาดไปทางด้านหลัง เมื่อคู่ต่อสู้พลาดแล้วถลันเสียหลัก จึง หมุนตัวเตะด้วยลูกเหวี่ยงส้นเท้า 
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรง พร้อมกับสืบเท้าซ้ายไปข้างหน้า 
ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าขวากระโดดไปทางกึ่งขวา ให้พ้นหมัดฝ่ายรุก แขนงอกำบังตรงหน้าแล้วใช้เท้าซ้าย เป็นหลักหมุนตัว เตะด้วยส้นเท้าขวาบริเวณท้องหรือคอ


10.หักงวงไอยรา
ศอกโคนขา

แม่ไม้นี้ใช้แก้การเตะโดยตัด กำลังขา ด้วยการใช้ศอกกระทุ้งที่โคนขา 
ฝ่ายรุก ยกเท้าขวาเตะกราดไปยังบริเวณชายโครงของฝ่ายรับ งอแขน ทั้งสองบังอยู่ ตรงหน้า 
ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าขวาเข้าหา ฝ่ายรุกตรงหน้าเกือบประชิดตัวหันข้างตัวไป ทางซ้ายเข่าขวางอ เท้าซ้าย เหยียดตรง พร้อมกับใช้มือซ้ายจับเท้าขวา ของฝ่ายรุก ให้สูง ศอกขวากระแทกที่ โคนขาฝ่ายรุก ยกเท้าขวาฝ่ายรุกให้สูงขึ้น เพื่อให้เสียหลัก ยิงกันฝ่ายรุกใช้ศอกกระแทกศีรษะ


11.นาคาบิดหาง
บิดขาจับตีเข่าที่น่อง

แม่ไม้นี้ ใช้รับการเตะโดยใช้มือ ทั้งสองจับปลายเท้าบิดพร้อมทั้งใช้เข่ากระแทกขา 
ฝ่ายรุก ยกเท้าขวาเตะกราดไป ยังบริเวณ ชายโครงของฝ่ารับ แขนทั้งสอง 
ฝ่ายรับ รีบโยกตัวไปทางซ้าย ยืนบนเท้าซ้าย มือซ้ายจับส้นเท้าของฝ่ายรุก มือขวาจับที่ปลายเท้าบิดออกนอกตัว พร้อม กับยกเข่าขวาตีที่นองของฝ่ายรุก


12.วิรุฬหกกลับ
รับเตะด้วยถีบ

แม่ไม้นี้ ใช้รับการเตะโดยใช้ส้นเท้า กระแทกที่บริเวณโคนขา 
ฝ่ายรุก ยกเท้าซ้ายเตะกลาง ลำตัวบริเวณชายโครงของฝ่ายรับ 
ฝ่ายรับ รีบยกเท้าซ้ายถีบไปที่ บริเวณโคนขาซ้ายของฝ่ายรุกพร้อมยกแขน ทั้งสองกันด้านหน้า การถีบนั้นต้องถีบให้เร็ว และแรงถึงขนาด ฝ่ายรุกหมุนกลับเสียหลัก


13.ดับชวารา
ปัดหมัดชกตอบ

แม่ไม้นี้ใช้แก้การชกด้วยหมัด ตรงโดยชกสวนที่ใบหน้า 
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายไปยัง บริเวณใบหน้าขอฝ่ายรับ พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า แขนขวาคุมบริเวณปลายคาง 
ฝ่ายรับ ก้าวเท้าขวาไปข้าง หน้ากึ่งขวาหลบอยู่นอกหมัด ซ้ายของฝ่ายรุกเอี้ยวตัวไปทาง ขวา ปัดและกดแขนซ้ายของ ฝ่ายรุกที่ชกมาให้ต่ำลง พร้อม กับใช้หมัดซ้ายชกบริเวณหน้า แล้วพุ่งตัวกระโดดไปทางกึ่งขวา

14.
14.1ขุนยักษ์จับลิง ตอนที่ 1
รับ-หมัด-เตะ-ต่อย

แม่ไม้นี้เป็นไม้ สำคัญมากใช้ป้องกันคู่ต่อสู้ที่ไวในการชก เตะและศอก ติดพันกัน 
การฝึกแบ่งออกเป็น 3 ตอน
ฝ่ายรุก
 ชกหมัดซ้ายตรงไปยังใบหน้าของฝ่ายรับ พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายสืบไปข้างหน้า 
ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าซ้ายสืบเท้าหาตัวฝ่ายรุกตรงหน้าแขนขวาปัดแขนซ้ายฝ่ายรุกให้พ้นจากตัว

14.2.ขุนยักษ์จับลิง ตอนที่ 2
รับ-หมัด-เตะ-ต่อย
ฝ่ายรุก
 ยกเท้าขวาเตะกราด บริเวณชายโครงของฝายรับ 
ฝ่ายรับ รีบโยกตัวถอยเท้าซ้ายไปข้างหลังราวกึ่งซ้าย ย่อตัวใช้ศอกขวากระแทกที่ขาขวาท่อนบนของฝ่ายรุก


14.3ขุนยักษ์จับลิง ตอนที่ 3
รับ-หมัด-เตะ-ต่อย
ฝ่ายรุก
 งอแขนขวาโน้มตัวกระแทกศอกที่ศีรษะของฝ่ายรับ 
ฝ่ายรับ รีบงอแขนขึ้นรับปะทะใต้ศอกของ ฝ่ายรุก แล้วโยกตัวก้าวเท้าขวาถอยไปทางหลังประมาณ ครึ่งก้าว


15.หักคอเอราวัณ
โน้มคอตีเข่า
ฝ่ายรุก
 ชกด้วยหมัด ซ้ายตรง พร้อมกับสืบเท้าซ้ายไปข้างหน้า หมัดขวา คุมอยู่บริเวณคาง 
ฝ่ายรับ ก้าวเท้าซ้ายสืบไป ตรงหน้าฝ่ายรุกอย่างรวดเร็วพร้อมกับยก แขนขวาสอดงดแขนซ้ายของฝ่ายรุก แล้วกระโดดเข้าเหวี่ยงคอฝ่ายรุกโน้มลงมาโดย แรง แล้วตีด้วยเ
ข่าบริเวณใบหน้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น